วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2564

เลื่อนเปิดเทอม ซ้ำเติมเด็กหรือไม่

 


เลื่อนเปิดเทอม ซ้ำเติมเด็กหรือไม่

                                                                                                    ภาณุวัฒน์ ยาวศิริ

            สถานการณ์โรคโคโรน่าไวรัส (โควิด19) ส่งผลให้ระบบสาธารณสุข ระบบเศรษฐกิจเป็นอัมพาตในหลาย ๆ ประเทศ ยังส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาด้วย โดยเฉพาะในประเทศไทย ส่งผลต่อการเปิด-ปิดภาคเรียนและยังส่งผลต่อไปอีกหลาย ๆ อย่างในระบบการศึกษา การเปิดภาคเรียนในปีการศึกษา 2564 ภาคเรียนที่ 1 ก็เช่นกัน ทำให้หลาย ๆ โรงเรียนในกระทรวงศึกษาธิการทำการสอบ TCAS ไม่สำเร็จ ซึ่งส่งผลต่อการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาต่อไป ส่วนโรงเรียนที่รับสมัครนักเรียนเข้าเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  มัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วย มีหลายโรงเรียนยังไม่แล้วเสร็จไม่เสร็จตามกำหนดตามกำหนดการที่วางไว้ เป็นผลให้เกิดความกังวลสำหรับนักเรียนรวมไปถึงผู้ปกครองด้วย ส่วนในระดับอื่นถือว่ามีผลกระทบน้อยกว่า การศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบเพียงใด ขอให้ดูระบบต่อไปนี้

            เปิดภาคเรียน – กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดวันเปิดเทอมสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2564  เป็นวันแรกของการเปิดภาคเรียน สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) กล่าวว่า ถ้าฝืนเปิดเรียนในวันดังกล่าว จะทำให้นักเรียนหลายคนเสียโอกาสในการเข้าศึกษาต่อในแต่ละระดับ จะเป็นการซ้ำเติมเด็กเข้าไปอีก ทำให้ต้องเลื่อนการเปิดเรียนออกไปอีก เป็นเปิดวันที่ 1 มิถุนายน 2564 รวมระยะเวลาในการเลื่อนออกไป 11 วันทำการ(วันจันทร์-วันศุกร์)

            ปิดภาคเรียน – กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดวันปิดภาคเรียนไว้ในวันที่ 11 ตุลาคม 2564 ซึ่งเป็นวันเดิมที่กำหนดไว้ ไม่ได้เลื่อนตามวันเปิดภาคเรียนแต่อย่างใด ส่วนแนวปฏิบัตินั้นเป็นสถานศึกษาในแต่ละแห่งบริหารจัดการกันเอาเอง มีแนวคิดว่าในแต่ละวิชาต้องได้เรียนเต็มเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผนการเรียนการสอนของแต่ละรายวิชา

            ผลกระทบ – การระบาดของโรคโควิด19 ได้ส่งผลกระทบต่อการศึกษาไทยเป็นอย่างมาก ต้องถามว่าวันนี้ผู้ที่ได้ผลกระทบมากที่สุดนั้นคงจะหนีไม่พ้นนักเรียน นักศึกษานั่นเอง เท่าที่สอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการศึกษาก็พอสรุปผลกระทบ คือ

            1. เวลาเรียนน้อยลง ในการเปิดภาคเรียนที่ 1/2564 นี้ เวลาในการเรียนน้อยลงไปถึง 11 วันถ้านับเป็นเวลาเป็นรายชั่วโมงเป็นเวลานานถึง 66 ชั่วโมง นับว่าเป็นเวลาไม่ใช่น้อยเลย ถ้าสถานศึกษาบางแห่งที่ไม่ใส่ใจการชดเชยในข้อนี้นับว่านักเรียนเสียโอกาสในการเรียนเป็นอย่างมาก (ไม่นับรวมเด็กที่ไม่อยากเรียน เพราะเด็กเหล่านั้นไม่ได้เรียนพวกเขาจะดีใจ)

            2. การเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย – เด็กนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการสอบ TCAS ล่าช้า เสียโอกาสในการเข้าเรียนในสาขาที่ตัวเองชอบหรือต้องการ อย่างเช่นในตอนนี้เด็กเป็นจำนวนมากยังไม่มีที่เรียน ถามว่าที่เรียนมีมากไหม ตอบว่ามาก แต่เป็นสาขาที่ตัวเองชอบหรือไม่นั้นตอบไม่ได้ เพราะบางมหาวิทยาลัยก็รับตรงไปเกือบหมดแล้ว  ส่วนการเปิดภาคเรียนที่ 1/2564 นั้น มหาวิทยาลัยที่ปรับการเรียนการสอนไปตามอาเซียนก็จะเปิดช้า ประมาณเดือนสิงหาคม ส่วนมหาวิทยาลัยที่ไม่ปรับตามอาเซียนก็จะเปิดเรียนพร้อมกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

           

            แนวทางการแก้ไขปัญหา เมื่อการระบาดของโรคโควิด19 ได้ส่งผลต่อระบบการศึกษาแล้วแนวทางการแก้ปัญหาก็พอสรุปได้ตามแนวทางต่อไปนี้

            1. การเตรียมความพร้อม – การเลื่อนการเปิดภาคเรียนไปถึง 11 วันทำการ ถือว่าเป็นการเตรียมตัวของโรงเรียนในเรื่องการเตรียมอาคารสถานที่ อุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งโสตทัศนูปกรณ์ กิจกรรมภาคสนาม เช่น อุปกรณ์ในการเรียนด้านพลศึกษา กิจกรรมนอกเวลาเรียน เป็นต้น

            2. การเยี่ยมบ้านนักเรียน – เป็นโอกาสอันดีที่อาจารย์ที่ปรึกษาจะได้ไปเยี่ยมนักเรียนตามบ้าน ถือว่าเป็นการมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างครู นักเรียนและผู้ปกครอง

            3. การเตรียมกิจกรรมในภาคเรียน – ในแต่ละภาคเรียนมีกิจกรรมที่ต้องเตรียมตัวเป็นจำนวนมาก ทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีโอกาสในการเตรียมกิจกรรมมากขึ้น เช่น กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมวันสุนทรภู่ กิจกรรมกีฬาสี เป็นต้น

            4. การชดเชยวันหยุด – การเปิดเรียนล่าช้า 11 วัน เป็นเวลาในการเรียนการสอนมากถึง 66 ชั่วโมง ต้องเตรียมอะไรบ้าง เช่น การเพิ่มเวลาเรียนในแต่ละวันไปอีก 1 ชั่วโมง หรือการสอนชดเชยในวันเสาร์อาทิตย์ เป็นต้น

            5. การสอนออนไลน์ – เตรียมการสอนออนไลน์ให้พร้อม ทั้งเนื้อหาบทเรียน อุปกรณ์ในการสอน ระบบอินเตอร์เนต รวมไปถึงโปแกรมที่ใช้ในการเรียนการสอน เช่น Google Classroom, Zoom meeting, Line meeting  รวมไปถึงการเขียนเวปไซด์เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาบน Google
Sites. เป็นต้น

            จากที่กล่าวมาแล้ว ถ้าการเตรียมตัวของสถานศึกษาไม่ดี หรือไม่มีความพร้อมย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับนักเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะนักเรียนแต่ละคนมีศักยภาพทางด้านครอบครัวที่ไม่เท่ากัน การได้รับผลกระทบย่อมต่างกันไปด้วย เพียงแค่โควิดก็หนักมากแล้วอย่าให้พวกเขาโดยซ้ำด้วยการศึกษาที่ไม่พร้อมเลย  

                                    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฯพณฯ ตรีนุช เทียนทอง

                รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ฯพณฯ เอนก เหล่าธรรมทัศน์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น