วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

วัคซีนเพื่อบุคลากรท่องเที่ยว

 


ภาณุวัฒน์ ยาวศิริ

          กลุ่มบุคคลที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กลุ่มที่จะทำให้ประเทศไทยกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้เร็วที่สุด เราจะหาเงินมาจากไหนเข้าประเทศ ถ้าเราทำให้การท่องเที่ยวกลับมาให้เร็วที่สุด สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยต้องต่อสู้เพื่อให้บุคลากรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มต้น ๆ แล้วรีบทำงาน ถ้าช้าไปกว่านี้ประเทศชาติต้องลำบากแน่ ๆ ประเทศไทยเคยมีรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 2 ล้านล้านบาท เราจะอยู่อย่างไรเมื่อไม่มีเงินแบบนั้นแล้วตั้งสองปีแล้ว ก็ต้องมีแนวทางให้สามารถเป็นไปได้บ้าง ประเทศไทยตั้งเป้าหมายในการเปิดประเทศต้นปี 2565 มันช้าเกินไปไหม? จริง ๆ แล้วถ้าบุคลกรท่องเที่ยวได้รับวัคซีน เราก็สามารถเปิดท่องเที่ยวได้ในฤดูการท่องเที่ยวที่จะถึงได้เลย ต้นเดือนพฤศจิกายนก็ควรเปิดท่องเที่ยวได้แล้ว แล้วมันมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้การท่องเที่ยวมันเป็นจริงได้ บอกมาซิ จะได้ทำตาม

          1. วัคซีนสำหรับบุคลากรท่องเที่ยว  การสำรวจบุคลการท่องเที่ยวในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งมีประมาณ 2 ล้านคน ใช้วัคซีนเพียงแค่ 4 ล้านโดสเท่านั้น เชื่อว่าใช้เวลาในการฉีดไม่เกิน 4 เดือนเพียงพอสำหรับการเปิดฤดูการท่องเที่ยวปลายปีนี้ นับว่าเป็นการเตรียมตัวที่ดีสำหรับประเทศไทย เราอาจเป็นประเทศแรก ๆ ที่เปิดการท่องเที่ยวของโลกเลยทีเดียว

          2. วีซ่าท่องเที่ยวสำหรับผู้ได้รับวัคซีนแล้ว อนุญาตให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนเรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าตอนนี้ชาวต่างชาติกำลังมองหาที่เที่ยวและประเทศไทยก็เป็นหนึ่งนั้น เชื่อว่าผู้คนกำลังกระหายในการท่องเที่ยว

          3. ความปลอดภัยมากกว่า  ถามว่าถ้าบุคลากรท่องเที่ยวทุกคนได้รับวัคซีนเป็นที่เรียบร้อย และนักท่องเที่ยวก็ผ่านการรับวัคซีนเรียบร้อยเช่นกัน นั่นหมายความว่าความปลอดภัยจะมีมาก ดีกว่าแนวคิดที่จะนำคนไปเที่ยวเมืองนอก ตามแนวทาง “ชิม ช้อป ฉีด” ซึ่งการทำแบบนี้มันมีความเสี่ยงมากกว่าเพราะระหว่างทางอาจมีการติดเชื้อได้ บริษัทนำเที่ยวเอ้าท์บาวด์ (outbound) หรือทัวร์ที่นำคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ พยายามที่จะจัดแพคเก็จท่องเที่ยวพร้อมกับฉีดวัคซีน นอกจากจะนำเงินออกนอกประเทศแล้วยังไม่ปลอดภัย เราควรหันกลับมามองแหล่งท่องเที่ยวที่จะเปิดรับต้องเป็นไปตามหลักความปลอดภัยเท่านั้น รวมไปถึงระบบการท่องเที่ยว

          4. ควบคุมคุณภาพได้มากกว่า     แหล่งท่องเที่ยวที่จะเปิดต้องเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ต้องมีเกณฑ์ของการควบคุมตามหลักคุณภาพ เพราะเราควบคุมตัวเราเองมันง่ายกว่า การทำทัวร์ Inbound สร้างรายได้มากกว่าทัวร์แบบอื่น

          5. เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจการขนส่งทั้งทางบกทางอากาศและทางน้ำ ธุรกิจที่พัก ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร ธุรกิจของที่ระลึก จะกลับมาสร้างรายได้อย่างรวดเร็ว

          จากที่กล่าวมาประเทศไทยจะเป็นประเทศแรก ๆ ที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวเร็วที่สุดประเทศหนึ่ง และยังรักษาประเทศที่มีการท่องเที่ยวระดับต้น ๆ ของโลกอีกเหมือนเดิม ในขณะที่ชาวโลกกระหายที่จะท่องเที่ยว เราก็ต้องรีบทำการท่องเที่ยวเดี๋ยวนี้

                                                        กรุงเทพเมืองแห่งเทพธิดา


คำสำคัญ: วัคซีนเพื่อบุคลากรท่องเที่ยว, วัคซีน, การท่องเที่ยว, วีซ่าท่องเที่ยว, วีซ่าวัคซีน

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ย้ายประเทศไปไหนดี?

           กระแสการย้ายประเทศมาแรงเกินไป 3 วันมีคนเข้าร่วมกว่า 7 แสนคน ซึ่งส่วนมากเป็นคนรุ่นใหม่ที่เรียนจบในระดับมหาวิทยาลัย จนมีนักวิชาการหลายท่านออกมาพูดในรายการทีวีว่า “สมองไหลของเมืองไทยได้เริ่มขึ้นแล้ว”  มีนักวิชาการสายการเมืองท่านหนี่งคือ ท่าน ส.ศิวรักษ์ ได้กล่าวว่า การย้ายประเทศไม่ได้พึ่งมีการเริ่มต้นตอนนี้ ในอดีตเมื่อ 60 ปีที่แล้ว คนรุ่นใหม่ในยุคนั้นก็มีการย้ายประเทศด้วยในยุครัฐประหาร 3 จอมพล ซึ่งประกอบด้วยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร แล้วก็กลับมาเริ่มในยุคนี้

ประเทศที่ยินดีต้อนรับ มีประเทศที่ออกมาขานรับคนรุ่นใหม่ในการเข้าประเทศ 2 ประเทศหลัก ซึ่งทำการเชิญชวนโดยฑูตประจำประเทศไทย คือ

ประเทศสวีเดน เพจสถานทูตสวีเดนประจำประเทศไทย ได้เกาะกระแสการย้ายประเทศของคนไทยโดยการโพสท์นำเสนอเหตุผลว่า ทุกคนมีสิทธิและการคุ้มครองแรงงานที่เข้มแข็ง มีความเท่าเทียมทางเพศ ให้คุณค่ากับนวัตกรรมและมีระบบสวัสดิการครอบคลุมทุกคน การมาทำงานที่ประเทศสวีเดนและการได้รับใบอนุญาตให้ทำงานในประเทศสวีเดนผ่านลิ๊งค์ทางการของประเทศอีกด้วย อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://sweden.se/society/collection/working-in-sweden/ อยากนำเสนอข้อมูลประเทศสวีเดน ประเทศที่อยู่ในกลุ่มนอร์ดิกซี่งประเทศเหล่านี้เป็นลูกค้าประจำของการท่องเที่ยวไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีชื่อเต็ม ๆ ว่า ราชอาณาจักรสวีเดน มีกรุงสต็อกโฮล์ม เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุด มีประชากรเบาบางเพียง 10,073,500 คนเท่านั้น มีพื้นที่เล็กว่าประเทศไทยเพียงนิดเดียว จำนวนพื้นที่ 449,964 ตารางกิโลเมตร ภาษาราชการคือภาษาสวีเดน มีจีดีพีรวมทั้งประเทศ 542 พันล้านเหรียญสหรัฐ(ใกล้เคียงประเทศไทย) รายได้ต่อหัว 53,248 เหรียญ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 1,650,000 บาท ถือว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวย มี 4 ฤดู ส่วนมากจะหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีคือ 6.7 องศาเซลเซียส ที่สำคัญประเทศนี้สาวสวย หนุ่มหล่อ คนส่วนมากรวย

                
          #สาวชาวสวีเดน

                                       
                                                 #ทีมสวีเดน    สต๊อกโฮล์มเมืองหลวงของสวีเดน

ประเทศออสเตรเลีย #ทีมออสเตรเลีย จากปรากฏการณ์คนไทยย้ายประเทศ ล่าสุดสถานเอกอัคราชทูตออสเตรเลียก็ไม่น้อยหน้า ได้โพสท์ข้อมูลศัพท์แสลงที่สำคัญสำหรับการย้ายมาประเทศออสเตรเลีย จริง ๆ แล้วคนไทยก็ไปทำงานและย้ายไปประเทศออสเตรเลียมานานแล้ว มีกลุ่มแบบนี้มาตั้งนาน ก็ขอนำเสนอประเทศที่คนไทยจะไป ออสเตรเลียเป็นแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย มีชื่อที่เป็นทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศที่เกิดใหม่อายุเพียงร้อยกว่าปีเท่านั้นเอง เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก แต่มีประชากรตามสำมโนประชากรเพียง 25 ล้านคน ทั้งที่มีพื้นที่มากถึง 7,692,024 ตารางกิโลเมตร มีค่าจีดีพีสูงถึง 1.33 ล้านล้านเหรียญ มีรายได้ต่อหัวประชากร 51,885 เหรียญ หรือเป็นเงินไทย 1,608,435 บาท ซึ่งรวยพอกันกับประเทศสวีเดน มีเมืองหลวงคือแคนเบอร่า แต่เมืองทีใหญ่ที่สุดคือเมืองซิดนี่ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐนิวเซ้าเวล ออสเตรเลียประกอบด้วย 6 รัฐและ 2 เขตพิเศษ สภาพอากาศแตกต่างกันออกไปทั้งร้อนและหนาว

          คงพอจะคิดได้ว่าควรย้ายประเทศไปประเทศใด แต่ละประเทศมีข้อดีข้อเสียต่างกัน และวีซ่าเข้าประเทศ เงื่อนไขในการเข้าต่างกันแต่บอกเลยถ้าไม่มีความรู้ ไม่มีทักษะในงานที่ขาด ไม่มีระบบการเงินที่ดีก็เป็นเรื่องที่ยากที่เขาจะรับเข้าประเทศ

 

                                                                #ทีมออสเตรเลีย  เมืองซิดนี่

ย้ายประเทศกันเถอะ

           กระแสมี กระแสมา กระแสแรงแซงทางโค้งทุกระดับ ก็คือกระแสย้ายประเทศกันเถอะ เพจหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ถามว่าทำไมถึงได้รับความนิยม? ก็เนื่องมาจากการเบื่อหน่ายในการบริหารจัดการของรัฐบาลนั่นเอง คนที่เข้าร่วมกลุ่มส่วนมากก็เป็นกลุ่มวัยทำงานที่พึ่งเรียนจบในระดับมหาวิทยาลัย ต้องถามต่อว่าทำไมต้องเบื่อหน่ายรัฐบาลนัก? สาเหตุที่แท้จริงก็คือตั้งแต่การระบาดของโควิด19 เกิดขึ้นมาในระลอกที่ 3 ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากการระบาดในครั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลของพวกเขาทำงานอย่างล่าช้า ทำให้ระบบเศรษฐกิจพัง รวมไปถึงการใช้อำนาจรัฐไปในทางที่แสวงหาผลประโยชน์ด้วย กลุ่มย้ายประเทศให้ความเห็นด้านการบริหารและความไม่เป็นธรรมของสังคมก็คือ

          ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ   จากการเริ่มระบาดของโควิด19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ที่โรคนี้เข้ามาประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยต้องล็อคดาวน์ประเทศรอบแรกในต้นปี 2563 ทำให้เศรษฐกิจของประเทศชะงัก ประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว พึ่งพารายได้จากการส่งออก เมื่อเศรษฐกิจสองด้านนี้ชะงัก ระบบเศรษฐกิจก็พัง มีการประณามว่ารัฐจัดการโควิดไม่ได้ ก็มีแต่พังกับพัง

          ผลกระทบด้านสุขภาพ   แน่นอนว่าอัตราการเสียชีวิตในระลอกที่ 3 นี้สูงงขึ้นเป็นอย่างมาก สายพันธ์ของไวรัสโควิดมีความรุนแรงมากขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดที่รัฐต้องทำด่วนก็คือ การหาวัคซีนคุณภาพเข้ามาในประเทศไทยให้ครอบคลุมกับจำนวนประชากรมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เหตุการไม่ได้เป็นเช่นนั้น รัฐดำเนินการด้วยความล่าช้า ทำให้มีจำนวนคนเสียชีวิตมากขึ้น รวมไปถึงตลกชื่อดังของเมืองไทยคนหนึ่งด้วย คือน้าค่อม ชวนชื่น จนบัดนี้หาวัคซีนได้เพียง ล้านกว่าโดส หรือครอบคลุมประชากรได้ไม่ถึง 1% เท่านั้น  แถมยังมีข่าวว่ามีการทุจริตในการจัดซื้อต่างหาก รัฐบาลต้องการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางเพียงอย่างเดียวไม่ปล่อยให้ระดับท้องถิ่นดำเนินการจัดหาเองด้วย รวมไปถึงภาคเอกชนด้วยต้องการจัดหาเองเพื่อความรวดเร็วแต่ก็ไม่ได้รับอนุญาต

          ผลกระทบต่อจิตใจ  ประเทศกำลังขวัญเสีย ผู้คนกำลังท้อแท้ อ่อนแอไม่เป็นทำมาหากิน พวกเขามีความรู้สึกว่าเหมือนโดนทอดทิ้ง ไม่ได้รับความเป็นธรรม การปกครองประเทศไม่มีธรรมาภิบาลอันดีเลย แนวคิดการย้ายประเทศจึงเพิ่มทวีขึ้น

          ผลกระทบด้านการเมือง จริงๆ แล้วเรื่องของการเมืองมันมีตั้งแต่สมัยที่ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาทำรัฐประหารแล้ว ก็มีการประท้วงเรื่องมา รวมไปถึงการเข้ามาเป็นรัฐบาลอย่างเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่นด้วย การรวมกลุ่มของคนรุ่นใหม่มีจำนวนมากขึ้น เมื่อต่อสู้กับรัฐบาลก็ไม่มีโอกาสชนะได้เลย จนเป็นเหตุให้ว่าอยากย้ายประเทศไปอยู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว

แล้วพวกเขาต้องการอะไร?  เพจนี้แนะนำอะไรให้คนรุ่นใหม่บ้าง

          ถามว่ารัฐบาลนิ่งดูดายในเรื่องนี้หรือไม่ รายงานจากกระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(DES) ได้เข้าเข้าตรวจสอบเพจนี้เนื่องจากว่าได้รับรายงานการร้องเรียนเรื่องการพาดพิงสถาบันกษัตริย์ มีเนื้อหาสร้างความแตกแยกเป็นจำนวนมาก ฯพณฯ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิตัล ได้กล่าวว่า เท่าที่ติดตามทางเพจก็เป็นการให้ความรู้เรื่องการทำงานต่างประเทศ การศึกษาต่อในต่างประเทศ การใช้ชีวิตในต่างประเทศ ทำให้เปิดมาเพียงสามวัน มีคนเข้าร่วมกว่า 7 แสนคน มีการกำชับและตรวจสอบอย่างเป็นระบบ


                                               #เพจย้ายประเทศกันเถอะ

คำสำคัญ : #ย้ายประเทศกันเถอะ, วัคซีนโควิด,

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สะพานหรูคู่กรุงเทพฯ

 

 สะพานหรูคู่กรุงเทพฯ



สะพานภูมิพล (Bhumibol Bridge) อ.พระประแดง สมุทรปราการ หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม (Mega Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม  เชื่อมระหว่างถนนพระรามที่ 3 ถนนปู่เจ้าสมิงพราย และถนนสุขสวัสดิ์  ลักษณะเป็นสะพานขึงขนาด 7 ช่องการจราจร ทางด้านเหนือหรือ “สะพานภูมิพล 1”  เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับตำบลทรงคนอง  อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทางด้านใต้หรือ “สะพานภูมิพล 2”  เชื่อมระหว่างตำบลทรงคนองกับตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง  จังหวัดสมุทรปราการ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.  2549


สะพานพุทธ

สะพานพระพุทธยอดฟ้า เป็นสะพานที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อปี พ.ศ. 2472 เนื่องในโอกาสสถาปนากรุงเทพมหานครครบ 150 ปี และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ด้วยพระราชดำริที่จะสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ถึงความรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร โดยมีพระราชดำริว่าควรสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมจังหวัดพระนครกับธนบุรีเข้าด้วยกัน เพื่อให้การคมนาคมติดต่อสะดวก ทั้งยังเป็นการขยายพระนครอีกด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้คิดแบบพระบรมราชานุสาวรีย์ และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นประกอบกันเป็นปฐมบรมราชานุสรณ์ที่ปลายถนนตรีเพชร ถือเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 2 ถัดจากสะพานพระราม 6 ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

นินทานายก อาจสอบตกโดนปรับออก

นินทานายก อาจสอบตกโดนปรับออก

               

การนินทากาเลเหมือนเทแกลบ

ไม่เจ็บแสบเหมือนเอามีดมากรีดหิน

แม้แต่องค์พระปฏิมายังราคิน

คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา  

  “มีรัฐมนตรีบางคนพูดจาไม่ดีและนินทาผมในที่ประชุมบางวง ให้ระวังตัวไว้ด้วย ผมเป็นคนตัดสินใจเลือกเข้ามาทำงาน จะชอบหรือไม่ชอบผม อย่านินทาให้ผมได้ยิน ถ้าผมได้ยินอีก ผมจำเป็นต้องปรับออก จะริบโควตานั้น มาเป็นของผมเอง ระวังตัวไว้ด้วยละกัน” เป็นคำพูดในที่ประชุมสภา มิใช่คำขู่เล่น ๆ แน่นอน เป็นผลทำให้คณะรัฐมนตรีในวสภาถึงกับนิ่งเงียบ

    คำว่า "นินทา" มีความหมายว่า คำติเตียนลับหลัง หรือ คำกล่าวอ้างถึงบุคคลอื่นในทางที่เสียหายลับหลัง ถ้ากล่าวอ้างถึงเรื่องที่ไม่ดี หรือเรื่องที่ไม่กล่าวอ้างในทางที่เสียหายก็คงไม่เป็นไร  จริง ๆ แล้วคือการกล่าวถึงบุคคลอื่นในทางที่เสียหายลับหลังนั้นเอง หรือการเม้าท์ในวงสนทนาเกี่ยวกับบุคคลที่สามให้เขาได้รับความเสียหาย ปัญหาก็คือ คนในวงนั้นจะนำเอาเรื่องเหล่านี้ไปเล่าต่อหรือไม่

    นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต  แปลว่า คนที่ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก ก็คงเหมือกับคำกลอนที่ยกขึ้นมาตอนต้นว่าขนาดพระที่ทำขึ้นด้วยความสวยงามยังมีคนนินทาว่าไม่สวยบ้าง หรืออะไรบ้าง ซึ่งคนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลกด้วย  การนินทาแตกต่างกับการวิจารณ์อย่างไร ก็ขอขยายความให้ดังนี้ คือ การนินทาคือการพูดให้ร้ายกับบุคคลที่สามลับหลัง ส่วนการวิจารณ์คือการพูดแบบตรงไปตรงมาทั้งทางดีและทางไม่ดี พูดทั้งสองทางนั่นเอง

     ถามว่ารัฐมนตรีบางท่านที่นินทานายกรัฐมนตรีต้องการอะไรจากสังคมหรือจากทางรัฐบาลบ้าง ทำไมต้องพูดเพราะอะไร เหตุผลง่าย ๆ ที่พอจะสรุปได้ก็คือ ต้องรีบพูดเรื่องของคนอื่น ก่อนที่คนอื่นจะพูดเรื่องของเขานั่นเอง บางคนก็พูดว่าเป็นพวกขี้ขลาดต่อหน้าก็สู้นายกไม่ได้ลับหลังก็ต้องรีบนินทาเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี  แต่ประชาชนก็พอรู้ดีว่าใครเป็นอย่างไร หรือเรียกอย่างหนึ่งว่าฟ้ามีตานั่นเอง

    ถามว่า "การริบคืนตำแหน่ง" เป็นคำขู่หรือว่าคำเอาจริง กรณีนี้มีโอกาสเกิดขึ้นทั้งสองกรณี เป็นได้ทั้งคำขู่และการริบตำแหน่งจริง แต่อย่างไรก็แล้วแต่ จะนินทาอะไรท่านรัฐมนตรีควรมองหน้ามองหนังบ้าง และจะขู่อะไรท่านนายกต้องระวังเสถียรภาพรัฐบาลบ้างเผื่อว่าเจอตัวใหญ่หน่อยก็จะลำบาก..............................


นายกรัฐมนตรี


วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สุภาษิตท่านนายกประยุทธ์จันทร์โอชา

      สุภาษิตท่านนายกประยุทธ์ จันทร์โอชา

          ท่ามกลางสภาวะวิกฤต โควิด-19 ท่านนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและแนวทางแก้ไขปัญหา และขอความร่วมมือกับประชาชนคนในชาติให้ร่วมกันฝ่าวิกฤตไปด้วยกันโดยได้กล่าวว่า. ยามคับขันต้องการคนกล้าหาญ เมื่อคราวปรึกษางานก็ต้องการคนไม่พูดพล่าม เมื่อยามมีข้าวมีน้ำก็ต้องการคนที่รักที่ปรึกษา เมื่อยามมีปัญหาก็ต้องการบัณฑิต หลายคนก็มีความสงสัยว่าท่านยกตัวอย่างสุภาษิตนี้ขึ้นมาเพื่ออะไร ต้องการจะสื่ออะไรกับประชาชนชาวไทยบ้าง จึงขอขยายความสิ่งที่ท่านพูดเพื่อความเข้าใจที่กระจ่าง

1. ยามคับขันต้องการคนกล้าหาญ  หมายความว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันประเทศอยู่ในสภาวะคับขันเนื่องจากมีปัญหาในเรื่องโรคระบาดที่กระจายอยู่ในทั่วประเทศไทย ช่วงนี้เป็นการระบาดระลอกที่สามแล้วมีคนติดเชื้อโควิดมากถึง 60,000 กว่าคน มีผู้เสียชีวิต 100 กว่าคนซึ่งเพิ่มปริมาณในการเสี เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน ท่านต้องการคนกล้าหาญที่จะมาช่วยเหลือประเทศชาติ 

2. เมื่อคราวปรึกษางานก็ต้องการคนไม่พูดพร่ำ  มองเห็นว่าในปัจจุบันมีคนออกมาโจมตีท่านในเรื่องของการแก้ไขปัญหาโรคระบาด โควิด-19 นี้เป็นจำนวนมากไม่เพียงแต่ท่านคนเดียวรวมไปถึงกระทรวงสาธารณสุขด้วย นั่นก็หมายถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่าอนุทิน ชาญวีรกูลซึ่งเป็นรัฐมนตรีประจำ  ท่านคงมองเห็นว่าในสภาพปัจจุบันทุกคนควรร่วมกันแก้ไขปัญหาเรื่องโควิด มิควรพูดจาอะไรให้เกิดความเสียหายให้แก่ประเทศ รวมไปถึงการพูดจาที่บั่นทอนจิตใจของคนทำงานด้วย

3. ยามมีข้าวมีน้ำก็ต้องการคนที่รักที่ปรึกษาในข้อนี้หมายถึง ให้ให้ประชาชนคนไทยรักกัน คล้ายๆกับสุภาษิตจีนที่กล่าวว่า “มีสุขร่วมเสพมีทุกข์ร่วมต้าน” นั่นเอง เวลามีความสุขเราก็ร่วมกันใช้ทรัพยากรอย่างมีความสุขแล้วเวลามีความทุกข์เวลามีวิกฤตทำไมต้องออกมาทะเลาะกันโจมตีกัน

4. เมื่อยามมีปัญหาก็ต้องการบัณฑิต. ในข้อนี้ความหมายของคำว่าบัณฑิตก็คือผู้รู้ผู้ที่มีความสามารถในด้านต่างๆมาช่วยแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศชาติ (แต่ก็อยากบอกจริง ๆ นะผู้ที่มีความรู้ความสามารถท่านก็ไล่ออกไปหมดแล้วนี่) ทางด้านเศรษฐ กิจการเงินการคลัง การสาธารณสุข การศึกษา 


ฯพณฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ ฯพณฯ อนุทิน ชาญวีรกูล