วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

นินทานายก อาจสอบตกโดนปรับออก

นินทานายก อาจสอบตกโดนปรับออก

               

การนินทากาเลเหมือนเทแกลบ

ไม่เจ็บแสบเหมือนเอามีดมากรีดหิน

แม้แต่องค์พระปฏิมายังราคิน

คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา  

  “มีรัฐมนตรีบางคนพูดจาไม่ดีและนินทาผมในที่ประชุมบางวง ให้ระวังตัวไว้ด้วย ผมเป็นคนตัดสินใจเลือกเข้ามาทำงาน จะชอบหรือไม่ชอบผม อย่านินทาให้ผมได้ยิน ถ้าผมได้ยินอีก ผมจำเป็นต้องปรับออก จะริบโควตานั้น มาเป็นของผมเอง ระวังตัวไว้ด้วยละกัน” เป็นคำพูดในที่ประชุมสภา มิใช่คำขู่เล่น ๆ แน่นอน เป็นผลทำให้คณะรัฐมนตรีในวสภาถึงกับนิ่งเงียบ

    คำว่า "นินทา" มีความหมายว่า คำติเตียนลับหลัง หรือ คำกล่าวอ้างถึงบุคคลอื่นในทางที่เสียหายลับหลัง ถ้ากล่าวอ้างถึงเรื่องที่ไม่ดี หรือเรื่องที่ไม่กล่าวอ้างในทางที่เสียหายก็คงไม่เป็นไร  จริง ๆ แล้วคือการกล่าวถึงบุคคลอื่นในทางที่เสียหายลับหลังนั้นเอง หรือการเม้าท์ในวงสนทนาเกี่ยวกับบุคคลที่สามให้เขาได้รับความเสียหาย ปัญหาก็คือ คนในวงนั้นจะนำเอาเรื่องเหล่านี้ไปเล่าต่อหรือไม่

    นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต  แปลว่า คนที่ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก ก็คงเหมือกับคำกลอนที่ยกขึ้นมาตอนต้นว่าขนาดพระที่ทำขึ้นด้วยความสวยงามยังมีคนนินทาว่าไม่สวยบ้าง หรืออะไรบ้าง ซึ่งคนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลกด้วย  การนินทาแตกต่างกับการวิจารณ์อย่างไร ก็ขอขยายความให้ดังนี้ คือ การนินทาคือการพูดให้ร้ายกับบุคคลที่สามลับหลัง ส่วนการวิจารณ์คือการพูดแบบตรงไปตรงมาทั้งทางดีและทางไม่ดี พูดทั้งสองทางนั่นเอง

     ถามว่ารัฐมนตรีบางท่านที่นินทานายกรัฐมนตรีต้องการอะไรจากสังคมหรือจากทางรัฐบาลบ้าง ทำไมต้องพูดเพราะอะไร เหตุผลง่าย ๆ ที่พอจะสรุปได้ก็คือ ต้องรีบพูดเรื่องของคนอื่น ก่อนที่คนอื่นจะพูดเรื่องของเขานั่นเอง บางคนก็พูดว่าเป็นพวกขี้ขลาดต่อหน้าก็สู้นายกไม่ได้ลับหลังก็ต้องรีบนินทาเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี  แต่ประชาชนก็พอรู้ดีว่าใครเป็นอย่างไร หรือเรียกอย่างหนึ่งว่าฟ้ามีตานั่นเอง

    ถามว่า "การริบคืนตำแหน่ง" เป็นคำขู่หรือว่าคำเอาจริง กรณีนี้มีโอกาสเกิดขึ้นทั้งสองกรณี เป็นได้ทั้งคำขู่และการริบตำแหน่งจริง แต่อย่างไรก็แล้วแต่ จะนินทาอะไรท่านรัฐมนตรีควรมองหน้ามองหนังบ้าง และจะขู่อะไรท่านนายกต้องระวังเสถียรภาพรัฐบาลบ้างเผื่อว่าเจอตัวใหญ่หน่อยก็จะลำบาก..............................


นายกรัฐมนตรี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น