วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การวิจัยเชิงคุณภาพไม่ยากอย่างที่คิด

การวิจัยเชิงคุณภาพไม่ยากอย่างที่คิด


ภาณุวัฒน์ ยาวศิริ
Johnny.ipe@gmail.com
               หลังจากที่ได้รู้จักกับการวิจัยเชิงคุณภาพ  ถือว่าเป็นการวิจัยที่ใหม่ (สำหรับตัวผมเอง) คิดว่าคงไม่มีทางทำได้ แต่ก็ไม่ได้ยอมง่ายๆ พยายามหาหนังสือจำนวนหลายเล่มมาอ่าน เพื่อให้คนที่ไม่มีความรู้เรื่องการวิจัยเชิงคุณภาพเข้าใจได้ ในที่สุดก็เจอหนังสือเล่มนี้เข้า “การวิจัยเชิงคุณภาพไม่ยากอย่างที่คิด” เขียนโดย ดร.ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ ทำให้พอเห็นหนทางในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ เลยสรุปย่อมาให้เพื่อนๆ อ่านบ้าง
ข้ามพรหมแดนการวิจัย 
               เริ่มจากการทำวิจัยเชิงปริมาณ  -    ปริมาณเชิงทดลอง  -  ข้ามสู่การวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยเชิงคุณภาพ : กระบวนทัศน์ใหม่
               กระบวนทัศน์ (Paradigm)  แปลว่า  รูปแบบ  ตัวอย่าง  แบบอย่าง
               กระบวนทัศน์ (Paradigm)  คือ  มุมมอง ความเชื่อ ค่านิยมและกรอบแนวคิด ที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งยึดถือร่วมกันและใช้ในการมองปรากฏการณ์ต่างๆในโลก  ซึ่งส่งผลต่อแนวทาง วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาคำตอบเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์
การวิจัยเพิ่มภาระงานจริงหรือ  -  จริงๆแล้วการทำงานควรจะควบคู่กับงานวิจัย
รูปแบบของวิจัยเชิงคุณภาพ  5 รูปแบบ
               1.   ชาติพันธ์วรรณา (Ethnographic Research) คือ เข้าไปศึกษาวัฒนธรรมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสภาพหรือบริบทของธรรมชาติ – มักใช้การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  และการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
               2.   แบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (Grounded theory) จากกระบวนการ การปฏิบัติ การปฏิสัมพันธ์การสร้างทฤษฏีจากข้อมูลแบ่งออกเป็น  2  ชนิด
                  2.1  โดยใช้กระบวนการเชิงระบบ  (Systematic Approach) ใช้กระบวนการเชิงระบบตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การให้รหัสข้อมูล (coding) การใช้หมวดหมู่ข้อมูล (categorizing)  การหาความสัมพันธ์ระหว่างหมวดหมู่ข้อมูล
                  2.2   การใช้กระบวนการสร้างความรู้  นักวิจัยจะสร้างทฤษฎีจากข้อมูล โดยอาศัยมุมมองและพื้นฐานประสบการเดิมของนักวิจัย นักวิจัยเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับรหัส หมวดหมู่ข้อมูล รูปแบบจนกระทั่งสร้างทฤษฏี
               3.   แบบกรณีศึกษา (Case study Research)
               4.  แบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological Research) มุ่งอธิบายปรากฏการณ์ของคนกลุ่มหนึ่ง  เหมือนหรือคล้ายกัน  เช่น กลุ่มรักร่วมเพศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด  ดังนี้
                    4.1 ชนิดตีความ (Hermeneutic)
                    4.2  ชนิดประจักษ์ (Empirical)
               5.   แบบเล่าเรื่องราว (Narrative Research)  ผู้วิจัยเล่าเรื่องราว (Narrator)  ผู้อ่านงานวิจัยเป็นผู้ฟัง (Audience) เป็นการศึกษาชีวิตของกลุ่มคนหรือบุคคล แล้วถ่ายทอดออกมาตามลำดับเวลา
 คำถามวิจัยเชิงคุณภาพ
               คำถามวิจัยเชิงคุณภาพ (What, How –อะไร,อย่างไร) แบ่งออกเป็น 4 ชนิด  ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
               1.   คำถามเพื่อการค้นหา (Exploratory)  เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์
               2.   คำถามเพื่อการอธิบาย (Explanatory) เพื่ออธิบายรูปแบบที่เกี่ยวข้อง
               3.   คำถามเพื่อการบรรยาย (Descriptive) เพื่อบรรยายรายละเอียด
               4.   คำถามเพื่อการปฏิบัติ (Emancipatory) เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ
กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ 
               คือการทำความเข้าใจความหมายในปรากฏการณ์ที่ศึกษาอย่างละเอียด ลึกซึ้งและเป็นองค์รวม  กระบวนการวิจัยวิจัยประกอบด้วย   หา + เก็บ + ปรุง + กิน
               หา          - หาผู้เข้าร่วมการวิจัย
               เก็บ        - การเก็บข้อมูลรวบรวมเชิงคุณภาพ
               ปรุง        - การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
               กิน         - การรายงานผลการวิจัยเชิงคุณภาพ
หา : การหาผู้เข้าร่วมวิจัย
               กลุ่มตัวอย่าง (Sample)  จากการสุ่ม (Sampling)  จากนั้นได้ข้อค้นพบแล้วนักวิจัยสรุปอิงข้อมูลที่ได้ค้นพบ (Generalize) ไปสู่ประชากร  การสุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพจึงเป็นการสุ่มแบบเจาะจง (Purpose Sampling) คือเจาะจงไปยังกลุ่มตัวอย่างที่จะทำให้ผู้วิจัยเข้าใจปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา  ผู้ที่ให้ข้อมูลสำคัญ (key Information)  ผู้มีข้อมูลมาก (Rich-Information case) จึงใช้การเลือกมากกว่าการสุ่ม จึงเรียกว่าผู้เข้าร่วมการวิจัย (Research Participants)  
               การเลือกตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ
               1.   เลือกโดยให้หลากหลายที่สุด เช่น เพศ อายุ สถานะ ตำแหน่ง
               2.   เลือกโดยใช้ผู้วิจัยที่สุดโต่ง (Extreme case sampling)  ที่สุดของที่สุดทั้งด้านบวกและลบ
               3.   เลือกผู้เข้าร่วมวิจัยที่ปกติ (Typical sampling)
               4.   เลือกตามแนวคิด ทฤษฏี (Theory or concept sampling)
               5.   เลือกโดยใช้ผู้วิจัยคล้ายกัน (Homogeneous sampling)
               6.   เลือกโดยผู้เข้าร่วมวิจัยที่วิกฤต เช่น เกิดความรุนแรงมาก่อน
                **************ข้อมูล 7 – 9 เป็นการเลือกที่เกิดขึ้นหลังการเก็บข้อมูล*************
               7.   เลือกแบบฉวยโอกาส  (Opportunistic sampling) สิ่งที่ผุดขึ้นใหม่
               8.   เลือกแบบขว้างหิมะ  (Snowball sampling)  จนกว่าจะย้อนกลับมาที่เดิม
               9.   เลือกกลุ่มที่ยืนยันและคัดค้าน (Confirm and disconfirm sampling)
หลักการเข้าถึงกลุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัย ต้องผ่านทางหัวหน้ากลุ่มแบบไม่เป็นทางการ
               *การขออนุญาตผู้เข้าร่วมวิจัยและนักวิจัยมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูล* ดังนี้
               1.   กระบวนการและช่วงเวลาในการให้ข้อมูล
               2.   การรายงานและการให้ผลการวิจัย
               3.   การปกปิดข้อมูลของผู้เข้าร่วมวิจัย
               4.   ประโยชน์ของผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับ
               5.   ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ร่วมวิจัย
               6.   สิทธิในการบอกเลิกในการเป็นผู้ร่วมวิจัย
เก็บ : การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ
               โดยทั่วไปการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ  มี 3 วิธีหลักด้วยกัน คือ การสังเกต การสัมภาษณ์และการเก็บรวบรวมเอกสารและวัสดุ  ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
               1.   การสังเกต    มี  2 แบบ คือ
                  1.1  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) – Insider
                  1.2  การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant Observation) – Outsider
               2.   การสัมภาษณ์  มี 2 แบบใหญ่ ๆ  คือ
                  2.1  การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เหมาะสำหรับนักวิจัยมือใหม่
                  2.2 การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) แบ่งย่อยได้อีก 5 แบบ
                              2.2.1 การสัมภาษณ์รายบุคคล
                              2.2.2 การสนทนากลุ่ม (Focus group interview) 6-8 คน เพื่อสนทนา ถก หรืออภิปรายภายใต้                                          ประเด็นที่ยกขึ้นมาเป็นเป้า(Focus)  Moderator ควรจัดนั่งเป็นวงกลมตามแนวราบ
                              2.2.3  การสัมภาษณ์โดยใช้ภาพประกอบ (คนใช้น้อยมาก)
                              2.2.4  การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Telephone interview) หรือจดหมาย e-mail,  facebook ,line
               3.   การเก็บรวบรวมเอกสารและวัสดุ  มีกระบวนการเก็บข้อมูลดังนี้
                              1.   ระบุชนิดของเอกสาร วัสดุภาพ เสียงที่เป็นประโยชน์ต่อการตอบคำถามวิจัย
                              2.   ขออนุญาตใช้วัสดุเอกสาร วัสดุเสียงเหล่านั้น
                              3.   ถ้านักวิจัยขอให้ผู้ร่วมงานวิจัยเป็นอนุทินต้องบอกลักษณะ รูปแบบด้วย
                              4.   ตรวจสอบ ความถูกต้อง ความสมบูรณ์และประโยชน์ที่มีต่องานวิจัยของวัสดุ เอกสาร วัสดุ                                           ภาพ เสียง หรือติดต่อเจ้าของ  
                              5.  บันทึกข้อมูลจากเอกสาร  โดยการบันทึกย่อหรือสแกน
ปรุง : วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Data Analysis)
               การวิเคราะห์โดยการแตกหน่อแล้วค่อยมารวมทีหลัง  กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยรหัสข้อมูลให้มาจากทฤษฎีที่ใช้เป็นกรอบในการวิจัย  ดังนี้
               1.   เตรียมข้อมูล
               2.   แตกข้อมูล
               3.   ให้รหัส
               4.   จัดหมวดหมู่
               5.   หาประเด็นหลัก
               หลักการหาประเด็นหลักของข้อมูล
              
อ่านข้อมูล
จัดระบบ
ให้รหัส
ลดทอนข้อมูล
สร้างประเด็นหลัก

ข้อความจำนวนหลายร้อยหน้า


แบ่งข้อความออกเป็นส่วนๆ

ได้รหัส 40-50 รหัส

ลดทอนรหัสเหลือ
20 รหัส

รหัสข้อมูลลดทอน
เหลือ 5-7 ประเด็น

  การตรวจสอบความน่าเชื่อถือ (Thrust worthiness) ของงานวิจัยเชิงคุณภาพ
               1.   การตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation)  การตรวจสอบสามเส้าเป็นการตรวจสอบความเที่ยง (Validation) และยืนยันข้อมูล (Confirmation) โดยวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้
               -      ตรวจสอบสามเส้าข้ามแหล่งข้อมูล เช่น ใช้ข้อมูลจากนักเรียนเพื่อยืนยันของครู
               -     ตรวจสอบสามเส้าข้ามวิธีการ เก็บรวบรวมข้อมูล จากวิธีการที่ต่างกัน เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต
                    เอกสารที่เกี่ยวข้อง ว่าไปสู่ข้อค้นพบแนวเดียวกันหรือไม่
-            ตรวจสอบข้ามนักวิจัย โดยใช้นักวิจัยที่ต่างกันมาวิเคราะห์ ตีความ นำผลมายืนยันกัน
-            ตรวจสอบข้ามทฤษฎี  โดยการใช้ทฤษฏีต่างกันมาตีความหมายข้อมูลเดียวกัน นำผลมายืนยัน
               2.   การให้ผู้ให้ข้อมูลตรวจสอบซ้ำ (Member Checking)
               3.   การอธิบายอย่างเข้มข้น – การอธิบาย การอภิปรายอย่างละเอียดเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพ
               4.   การระบุความลำเอียงของนักวิจัย นักวิจัยจะแสดงประสบการณ์เดิม อคติ อุปทาน
               5.   การหาข้อมูลที่เป็นลบมาปฏิเสธการตีความหมายของนักวิจัย
               6.   การฝังตัวในบริบทอย่างยาวนาน
               7.   การให้เพื่อนช่วยตรวจสอบ
               8.   การให้คนภายนอกช่วยตรวจสอบ
กิน : การรายงานผลการวิจัยเชิงคุณภาพ
               บทบาทสำคัญของนักวิจัยเชิงคุณภาพก็คือ  การเล่าเรื่องราว (Story teller) ซึ่งมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
               1.  โครงเรื่อง  (Plot)   ร้อยเรียง เชื่อมโยงเรื่องราว
               2.   เรื่องราว (Story
               3.   ตัวดำเนินเรื่อง (Character)
               4.   จุดเน้น (Focus)
               องค์ประกอบของการรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ
               1.   ชื่อเรื่อง
               2.   บทคัดย่อ
               3.   บทนำ (มีคำถามการวิจัย)
               4.   การทบทวนวรรณกรรม (Literature review) ควรมีประมาณ 30 เรื่อง
               5.   ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology)
               6.   วิธีวิจัย (Method)
               7.   ข้อค้นพบ (Fidings)
               8.   อภิปรายผล (Discussion)
               9.   ข้อเสนอแนะ (Suggestions)
               10. บรรณานุกรม (References)
               11. ภาคผนวก
ภาณุวัฒน์ ยาวศิริ ผู้เขียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น