วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การวิจัยเบื้องต้น


การวิจัยเบื้องต้น
ภาณุวัฒน์ ยาวศิริ
Johnny_kbv@hotmail.com
               หลังจากอ่านหนังสือของท่านบุญชม ศรีสะอาด เกี่ยวกับเรื่องของการวิจัย  นับว่าเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่อ่านเข้าใจง่ายที่สุด อาจสำหรับผมหรือมือใหม่หลายๆท่านก็เป็นได้  ผมเชื่อว่าคนที่ยังไม่ได้อ่านให้มาอ่านฉบับรีวิวนี้จะเป็นเป็นแรงบันดาลใจ เพื่อไปหาซื้อหนังสือฉบับเต็มมาอ่านเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น สำหรับคนที่พอมีพื้นฐานอยู่บ้างแล้ว อ่านฉบับนี้แล้วคงเข้าใจพอสมควร  มาลองอ่านก่อนครับ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานวิจัย
               การวิจัยถือว่าเป็นวิธีการในการหาความรู้ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน  เป็นวิธีการหาความรู้ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าถูกต้องตามหลักการ
                       อริสโตเติ้ล          ใช้วิธีการอนุมาน (Deductive)
               ฟรานซิส เบคอน ใช้วิธีอุปมาน (Inductive)
               ชาล์ลส์ ดาร์วิน    ใช้วีธีการวิจัยในยุคปัจจุบัน
               จอห์น ดิวอี้          ขั้นปัญหา -  ขั้นตั้งสมมุติฐาน -  ขั้นรวบรวม -  ขั้นวิเคราะห์ผล -  สรุป
ประเภทของการวิจัย – แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย
               1.  เชิงประวัติศาสตร์  (Historical Research) ค้นหาความจริงในอดีต
               2.  เชิงพรรณนา  (Descriptive Research) ค้นหาความจริงในปัจจุบัน
               3.  เชิงทดลอง (Experimental Research) ค้นหาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

ประเภทของการวิจัย  -  แบ่งตามสาขาวิชา
               1.  การวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์                 - การเมือง สังคม การศึกษา เศรษฐกิจ ดนตรี ศิลปะ
               2.  การวิจัยทางวิทยาศาสตร์                            - ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี แพทย์ ฯลฯ
ประเภทของการวิจัย  -  แบ่งตามวิธีการวิจัย
               1.  วิจัยเชิงปริมาณ    (Qualitative Research) หาข้อมูลเชิงปริมาณ เชิงสถิติ
               2.  วิจัยเชิงคุณภาพ   (Qualitative Research) หาข้อมูลเชิงลักษณะ สังเกต บันทึก
ประเภทของการวิจัย  -  แบ่งตามประโยชน์ที่ได้รับ
               1.  การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) หรือ Basic Research  หาความจริงตามหลักการ ทฤษฎีเพื่อขยายผล      
               2.  การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เพื่อนำผลการวิจัยไปปรับปรุงให้ดีขึ้น ด้านเศรษฐกิจ สังคม
               3.  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เป็นการวิจัยที่นำผลมาแก้ปัญหาในการวิจัย
การกำหนดปัญหาการวิจัย
เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-            Hppt ://www.onec.or.th      สภาวิจัยแห่งชาติ
-            Hppt    ://www.air.th        สมาคมวิจัยสถาบันและพัฒนาอุดมศึกษา
-            การวิเคราะห์ คือการแยกแยะ จัดเข้าหมวดหมู่
-            การสังเคราะห์ คือการรวบรวมเอาตั้งแต่ 2 สิ่งมาประกอบกันเพื่อเป็นสิ่งใหม่ เนื้อหาใหม่
ตัวแปรและสมมุติฐาน
               ตัวแปรหมายถึง
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
               การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นเรื่องที่สำคัญมาก  ดังนั้นวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง จึงได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
               1.   แบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling)
                     1.1   แบบบังเอิญ  (Accidental Sampling) คือเลือกใครก็ได้จนครบ
                     1.2   แบบกำหนดสัดส่วน (Quota Sampling) เลือกหลายประชากรที่แตกต่างกัน
                     1.3  แบบเจาะจง (Purposive Sampling)  เลือกใช้ดุลยพินิจ กลุ่มไหนดีเลือกกลุ่มนั้น
                     1.4  ตามสะดวก (Convenience Sampling) เลือกโดยถือเอาความสะดวกหรือง่ายต่อการ
                           รวบรวม
               2.   แบบอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling) สมาชิกแต่ละหน่วย แต่ละกลุ่มมีโอกาสในการถูกเลือก  โดยอาศัยเทคนิคการสุ่ม
                     2.1  การสุ่มแบบง่าย (Sampling Random Sampling) ใช้จับสลาก ตารางเลขสุ่ม ใช้คอมพิวเตอร์สุ่ม
                    2.2  การสุ่มแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling)
                    2.3 การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling)
                    2.4 การสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Area or Cluster Random Sampling)
                     2.5 การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling)

ข้อมูลในการวิจัย
               แหล่งที่มาของข้อมูล    : ประเภทของข้อมูล  ประกอบด้วย  1. ปฐมภูมิ  2. ทุติยภูมิ
               ลักษณะของข้อมูล       : 1. ปริมาณ (Quantitative data)    2. คุณภาพ (Qualitative data)
               ระดับของการวัด  (Level of Measurement)
               1.   นามบัญญัติ   (Nominal Scale)  เช่น การกำหนดตัวเลขแทน
               2.     เรียงลำดับ    (Ordinal Scale) สามารถบอกได้ว่ามากกว่าหรือน้อยกว่า เช่น 1,2,3,4
               3.    อันตรภาคชั้น  (Interval Scale)  มีช่วงชั้นที่เท่ากัน
               4.    อัตราส่วน  (Ratio Scale) ศูนย์แท้
               นามบัญญัติ          = ความแตกต่าง   
               เรียงลำดับ        = ความแตกต่าง  +  ทิศทาง            
               อันตรภาคชั้น    = ความแตกต่าง  +  ทิศทาง         +  ช่วงเท่ากัน      +  ศูนย์สมมุติ
               อัตราส่วน        = ความแตกต่าง  +  ทิศทาง         +  ช่วงเท่ากัน     +  ศูนย์แท้

เครื่องมือและเทคนิคในการรวบรวมข้อมูล
               ขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล
               1.   วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของงานวิจัยเพื่อที่จะได้เก็บข้อมูลได้ตรงจุด
               2.   กำหนดลักษณะของข้อมูล ว่ามีข้อมูลประเภทใดบ้าง  ลักษณะอย่างไร
               3.   พิจารณาว่าใช้เครื่องมือหรือเทคนิคใดในการเก็บข้อมูล
               4.   วางแผนในการสร้างเครื่องมือ และเก็บรวบรวมข้อมูล โดยกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา การทดลองใช้ การปรับปรุง การนำไปใช้จริง
               5.   สร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจากทฤษฎี
               6.   ทดลองใช้เครื่องมือ หาคุณภาพด้านความเชื่อมั่น ความเที่ยงตรง
               7.   เก็บรวบรวมข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4 หรือใช้เครื่องมือมาตรฐานที่เขาสร้างไว้แล้ว

การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
               1.  ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามโดยการวิเคราะห์ (พิจารณาด้านความยากกับอำนาจจำแนก) พิจารณาความเที่ยงตรง (valid)  ความเชื่อมั่น (Reliability)โดยการหาค่า IOC
               2.  ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า
                  2.1 หาอำนาจจำแนกรายข้อคำถาม หมายถึง ประสิทธิภาพของข้อนี้ ค่าเครื่องมือวัดสูงหรือต่ำ นิยมทำกัน 2 วิธี โดยใช้  t-test  หาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์อย่างง่าย ค่า t ควรมีค่าตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไป
                  2.2  หาค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่า  ควรมีค่าตั้งแต่ 0.7 ขึ้นไป
                  2.3  การหาค่าความเชื่อมั่น  0.66 ก็ถือว่าผ่านไปได้แล้ว

การจัดกระทำกับข้อมูล
               1. การวัด
                  1.1  การวัดแนวโน้มสู่ศูนย์กลาง Mean    - ค่าเฉลี่ย,    มัธยฐาน-median , ฐานนิยม mode
           1.2  การวัดการกระจาย  Range-พิสัย ,    Standard Deviation ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ความแปรปรวน – Variance
          2.  สถิติที่ใช้หาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
                  2.1  สหสัมพันธ์อย่างง่าย  (Simple Correlation) หรือ Pearson  มีผล 2 ตัวแปรและวัดใน                               Interval Scale and Ration Scale
            2.2 สหสัมพันธ์ระหว่างอันดับ (Spearman Rank Correlation) ใช้วัดมาตราเรียงลำดับ
                         Chi-squareใช้หาค่าเฉพาะความถี่ ทั้งกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม และกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม

               จากข้อมูลการทำวิจัยในเบื้องต้น จะเห็นได้ว่า การทำวิจัยมีลำดับขั้นตอนในการดำเนินการ ในแต่ละหัวข้อสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ส่วนในเรื่องการสรุผล การเขียนรายงานการวิจัย ควรทำความเข้าใจโดยตรง เพื่อความเชี่ยวชาญในการวิจัยต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น