วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยด้านการท่องเที่ยว


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยด้านการท่องเที่ยว
ภาณุวัฒน์  ยาวศิริ
Johnny_kbv@hotmail.com
               พบกับหนังสือเกี่ยวกับการวิจัยการท่องเที่ยวเล่มหนึ่ง ตอนนี้ยึดเป็นคัมภีร์ในการทำวิจัย นับว่าเป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับ นักวิจัยด้านการท่องเที่ยวมือใหม่  สามารถทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จตามประสงค์ได้ จากที่เคยแยกวิจัยการศึกษาออกจากวิจัยด้านอื่นไม่ได้วันนี้เราทำได้แล้ว ให้เครดิตเต็มๆ กับหนังสือเล่มนี้ เขียนโดย บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา ปรมาจารย์ด้านการท่องเที่ยวเมืองไทย จะช้าอยู่ใย ไปอ่านเลย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยการท่องเที่ยว
               องค์ประกอบของการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบต่อไปนี้  แหล่งท่องเที่ยว ตลาดท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว บริการท่องเที่ยว   ความรู้มี 2 ประเภท คือ ความรู้ทั่วไป (Knowledge)   องค์ความรู้ (Body of knowledge)  ความรู้ที่มีแบบแผนและขั้นตอนของการมีที่มา
-  การวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social Research)  เป็นการวิจัยด้านความรู้สึกนึกคิด จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์
-  การวิจัยทางการท่องเที่ยว หมายถึง กระบวนการศึกษาหาความรู้หาความจริงทางการท่องเที่ยว ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้อย่างมีระบบตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องหรือความรู้ใหม่ ในการตั้งเป็นทฤษฏีหรือแนวทางปฏิบัติ อธิบายหรือทำนายการท่องเที่ยว
               ขั้นตอนการวิจัยทางการท่องเที่ยว
               1.   กำหนดปัญหาและตั้งหัวข้อวิจัย                           
               2.   กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของปัญหา
               3.   กำหนดวัตถุประสงค์และทบทวนวรรณกรรม    
               4.   ตั้งสมมุติฐานและกำหนดตัวแปร
               5.   กำหนดรูปแบบการวิจัย                                          
               6.   เก็บข้อมูล
               7.   การจัดทำและวิเคราะห์ข้อมูล                               
               8.   การตีความ สรุปผล อภิปรายผล เสนอแนะ
การกำหนดปัญหาและตั้งหัวเรื่องการวิจัย
               การกำหนดปัญหาวิจัยนั้น  หลายคนสงสัยว่าได้ปัญหามาจากไหน ส่วนมากปัญหาที่ได้มาจากเหล่านี้เป็นส่วนมาก 
               1.   ปัญหาจากแนวคิดของผู้วิจัย  ซึ่งมีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบด้วยกัน คือ
                  1.1   ด้านรูปแบบการท่องเที่ยว
                  1.2   ด้านแหล่งท่องเที่ยว
                  1.3   ด้านธุรกิจหรือบริการท่องเที่ยว
                  1.4   ด้านการตลาดท่องเที่ยว
                  1.5   ด้านนักท่องเที่ยว
                  1.6   ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน
               2.   ปัญหาจากการประมวลสถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย  คือการคาดเดาอนาคต แนวโน้ม ทิศทาง การพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยว
               3.   ปัญหาได้จากนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
               4.   ปัญหาได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉ.11 (2555- 2559)
               5.   ปัญหาได้จากนโยบายและแนวทางการวิจัยของการวิจัยแห่งชาติ
               6.   ปัญหาได้จากแนวคิด แบบจำลองและทฤษฏีการท่องเที่ยว
               7.   ปัญหาได้จากการท่องเที่ยวในอดีต
               8.   ปัญหาได้จากการดำเนินงานการท่องเที่ยว 
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
                ย่อหน้าที่ 1   ความสำคัญ บทบาทของการท่องเที่ยวที่มีต่อชาติ
               ย่อหน้าที 2   ความสำคัญ บทบาทของการท่องเที่ยวที่มีต่อภาคหรือจังหวัด
               ย่อหน้าที่ 3   แนะนำแหล่งที่ทำวิจัย อย่างย่อ รวมทั้งกิจกรรม ประเภทการท่องเที่ยวต่อด้วยการเขียน
                                    ปัญหาการท่องเที่ยวโดยอธิบายสภาพปัญหา มีจุดอ่อนอะไรบ้างที่เป็นประเด็นปัญหา  หากเป็นวิจัยและพัฒนาจะมีประโยชน์ มีคุณค่า ประสิทธิภาพ เกิดความก้าวหน้าอย่างไรกับการท่องเที่ยวและวงวิชาการ
               ย่อหน้าที 4   เขียนขมวดปมว่า ด้วยเหตุผลนี้จึงต้องทำการวิจัยเรื่องนี้...  เพื่อเสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาให้ลดน้อยลงหรือหมดไป
การกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตการวิจัย ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
1.   การกำหนดวัตถุประสงค์  เพื่อที่จะ
               1.1   ความรู้ทางวิชาการท่องเที่ยว
               1.2   ผลเชิงปฏิบัติการท่องเที่ยว (แก้ปัญหา)
2.   ขอบเขตการวิจัย  ด้าน
                2.1   พื้นที่                          2.2   ด้านประชากร           
                2.3   เนื้อหา                       2.4   เวลา
3.   การทบทวนวรรณกรรม  การทบทวนประกอบด้วย 2 แบบ คือ
                 3.1   การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
                 3.2   การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
               ซึ่งการทบทวนเหล่านี้หาได้จากเอกสารงานวิจัย  4 แหล่งใหญ่ๆ คือ  1. หนังสือ ตำรา   2.  จุลสาร วารสาร  3.  รายงานการวิจัย   4. เอกสารอื่นๆ

การตั้งสมมุติฐาน กำหนดตัวแปร
1.   การตั้งสมมุติฐาน คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคิดว่าน่าจะเป็นตามที่กำหนดไว้
2.   การกำหนดตัวแปรของปัญหาการวิจัยการท่องเที่ยว  ตัวแปรทางการท่องเที่ยว 5 ประเภท
               2.1   ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นมาเพื่อดูว่ามีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่นอย่างไร
               2.2   ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นมา เพื่อวัดอิทธิพลของตัวแปรอิสระการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตามเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ
               2.3   ตัวแปรแทรก (Intervening Variable) ตัวแปรที่แทรกอยู่ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม เพื่อศึกษาอิทธิพลร่วมอาจมีต่อตัวแปรตาม ถ้าไม่กำหนดขึ้นมาอาจทำให้ผลการศึกษาคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากอิทธิพลของตัวแปรแทรก
               2.4   ตัวแปรองค์ประกอบ (Component Variable) ตัวแปรที่เป็นส่วนหนึ่งของตัวแปรอิสระมีลักษณะคล้ายตัวแปรแทรก ไม่นำไปรวมวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระก็ได้
               2.5   ตัวแปรภายนอก (Extraneous Variable) ตัวแปรที่ไม่ได้กำหนดไว้ในรูปแบบการท่องเที่ยว แต่อาจนำการวิเคราะห์และพบภายหลังว่ามีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามได้(มักเกิดขึ้นกับการวิจัยเชิงทดลอง) ถ้าไม่ทดลองไม่ใช้ต้องก็ได้
การออกแบบการวิจัยทางการท่องเที่ยว
               MAX – พยายามจะเข้าถึงความหลากหลายของสิ่งที่จะศึกษามากที่สุด
          MIN – พยายามลดความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นกับการวิจัย
          CON – ความพยายามในการควบคุมผลการวิจัย
1.   รูปแบบวิจัยทางการท่องเที่ยว  คือ การมุ่งศึกษาสภาพการณ์ต่างๆของการท่องเที่ยวที่ปรากฏอยู่แล้ว  โดยผู้วิจัยไม่มีกำหนดเงื่อนไขหรือปฏิบัติการใด ๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อตัวแปรตาม
               1.1   รูปแบบตัดขวาง
               1.2  รูปแบบระยะยาว
               1.3   รูปแบบการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study)  หมายถึงรูปแบบการวิจัยที่ผู้วิจัยสนใจศึกษาจากกลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียวในช่วงเวลา สถานที่ที่มีการกำหนดเฉพาะ  มักเป็นสถานที่มีเอกลักษณ์ ทั้งนี้เพื่อต้องการอธิบายหรือพรรณาข้อมูลเกี่ยวกับประชากรหรือตัวอย่างมากกว่าการทดสอบสมมุติฐาน  
2.   เกณฑ์พิจารณารูปแบบการท่องเที่ยว
               2.1   สามารถให้คำตอบที่ถูกต้องหรือสามารถทดสอบสมมุติฐานได้
               2.2   เกณฑ์การควบคุมตัวแปรภายนอกได้
                      2.2.1 คุมเทคนิควิธีการ  มี 5 วิธีด้วยกัน คือ
                              - สุ่มตัวอย่างแบบไม่เจาะจงให้โอกาสเท่ากัน
                              - การจับคู่ (Matching) โดยเลือกเฉพาะตัวที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามสูง
                              - การควบคุมความลำเอียงของกลุ่มตัวอย่าง
                              - ควบคุมผลกระทบจากผู้วิจัย
                              - ควบคุมวิธีการทางสถิติ (Multiple Regression Analysis)
                       2.2.2  ควบคุมกลุ่มตัวอย่าง
               2.3   ให้ความถูกต้องภายนอก (คือนำใปใช้กับงานวิจัยที่มีลักษณะเดียวกัน)  
3.   สถิติการวิจัยทางการท่องเที่ยว หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการจัดการข้อมูลเชิงปริมาณการวัดและวิธีการทางสถิติในการวิจัยทางการท่องเที่ยว  หมายถึง  วิธีการกำหนดค่าอย่างเป็นระบบให้กับสิ่งของหรือปรากฏการณ์ทางการท่องเที่ยว  อาจเป็นค่าเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพก็ได้    แบ่งออกเป็น 2ประเภท คือ
               3.1   สถิติวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) หมายถึง วิธีการทางสถิติของการวิจัยที่มุ่งเน้นการจัดการข้อมูลที่ได้มาจากการวัด  หรือการกำหนดค่าในรูปแบบของการรวบรวม การสรุป  และการอธิบายโดยใช้สถิติไม่ซับซ้อนและเข้าใจง่าย
               3.2   สถิติวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Inferential Statistic) หมายถึง การมุ่งเน้นการสรุปหรืออธิบายข้อมูลที่ได้รวบรวมมาเพื่อวิเคราะห์ความน่าจะเป็นเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้วิจัยคาดคิดไว้
4.   หลักสำคัญในการวัด
               4.1   ความถูกต้อง  (Validity)
               4.2   ความเชื่อถือในการวัด (Reliability)
               4.3   ความว่องไวในการวัด  (Sensitivity)
          4.4   ความหมายในการวัด (Meaning fulness)
5.   ระดับของการวัด  4 ระดับ
               5.1   Nominal Scale  ระดับกลุ่ม  เช่น ชาย หญิง   หาค่าความถี่
          5.2   Ordinal Scale   การจัดอันดับ  เช่น นักท่องเที่ยว 1-10
         5.3   Interval Scale  ระดับช่วง  เช่น  ช่วงอายุ ที่มีช่วงหางเท่ากัน
         5.4   Ratio Scale  ระดับอัตราส่วน
6.   วิธีการสุ่มตัวอย่างในการวิจัย
               6.1   การสุ่มตัวอย่างแบบไม่เกี่ยวข้องกับโอกาสทางสถิติ (Non-Probability Sampling)
                    6.1.1 แบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เจอใครก็สัมภาษณ์เลย
                              6.1.2 แบบโควตา (Quota Sampling)
                              6.1.3 แบบเจาะจง (Purpose Sampling)
               6.2   การสุ่มตัวอย่างที่มีโอกาสเป็นไปตามโอกาสทางสถิติ (Probability Sampling)
                              6.2.1 แบบง่าย (Simple Random Sampling)  อาจจับสลาก
                              6.2.2 แบบมีระบบ (Systematic Sampling) เช่น สุ่มคนเว้นคน สุ่มบ้านเลขที่
                              6.2.3 แบบแบ่งกลุ่มชั้น (Stratified Sampling)
การเก็บรวบรวมข้อมูล    
1.   ลักษณะข้อมูลการวิจัย  2 ประเภท
               1.1   ข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อการวิจัย  แสดงเป็นตัวเลขชัดเจน
               1.2   ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อการวิจัย  แสดง เช่น คุณลักษณะ คุณภาพการบริการ
2.   ประเภทและแหล่งข้อมูลในการวิจัย
               2.1   ข้อมูลปฐมภูมิ   -  เก็บมาจากภาคสนาม และสุ่มเลือกด้วยวีธีทางสถิติ
               2.2   ข้อมูลทุติยภูมิ  
                              -  บทความ รายงานประจำปี
                              -  หนังสือทั่วไป ตำรา เอกสารประกอบการสอน
                              -  รายงานผลการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ เช่น รายงานการวิจัย
                              -  วิทยานิพนธ์ทั้ง ป.โท ป.เอก
                              -  วารสารวิชาการ
3.   วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย  3 วิธี
               3.1   เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires)
               3.2   การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ (Interview Guide)  2 ลักษณะ
                              3.2.1  แบบมีโครงสร้าง  - มีคำถามแน่นอน เหมาะสำหรับมือใหม่
                              3.2.1  แบบไม่มีโครงสร้าง – กำหนดเฉพาะประเด็นหลัก
               3.3   การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต โดยมีเครื่องมือช่วย คือ กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ 2 แบบ
                              3.3.1  แบบไม่มีส่วนร่วม  Non-Participant Observation
                              3.3.2  แบบมีส่วนร่วม Participant Observation                       
4.  ปัญหาในการเก็บข้อมูล 2 ประการ
               4.1   ปัญหาทางเทคนิค
               4.2   ปัญหาด้านบุคคล (ผู้เก็บ – ผู้ให้)
5.   คุณสมบัติที่ดีในการเก็บรวบรวมข้อมูล
               1.   ซื่อสัตย์
               2.   มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
               3.   มีความรู้จริง
               4.   ใจกว้าง กล้าตัดสินใจ ไม่มีอคติ อดทน ตรงเวลา มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความสามารถในการบริหาร
                    งานวิจัย ประหยัด รักษาความลับ สร้างเครื่องมือใหม่  รับผิดชอบ
การจัดทำและการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย
1.   การจัดทำข้อมูล  หมายถึง การดำเนินการใดๆ แก่ข้อมูลที่รวบรวมมา เพื่อให้อยู่ในลักษณะที่สามารถนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการสถิติได้  มี 3 ลักษณะ
               1.1   การตรวจสอบข้อมูล  - เพื่อความถูกต้อง สมบูรณ์ มีเอกภาพ ดังนี้
               - ตรวจความสมบูรณ์ทันทีที่เก็บข้อมูลเสร็จ
               - ตรวจความถูกต้องหลังจากตรวจความสมบูรณ์ ถ้าไม่ถูกต้องแก้ไขก่อนนำไปใช้
               - ตรวจความเป็นเอกภาพ ทำหลังจากตรวจความถูกต้องแล้ว
               1.2   การจัดหมวดหมู่ของข้อมูล – การจัดทำข้อมูลเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการวิเคราะห์สถิติ
               1.3   การลงรหัสข้อมูล (การกำหนดรหัสตัวเลข , การทำคู่มือลงรหัส) การลงรหัส ตรวจสอบรหัส
2.   การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย  2 ประเภท
               2.1   สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) คือ สถิติที่ใช้ในการพรรณนาหรืออธิบายข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของกลุ่มประชากร  ซึ่งประกอบด้วย
                              2.1.1 การแจกแจงความถี่ (Frequency)
                              2.1.2 หาอัตราส่วนร้อยละ (Percentage Distribution)
                              2.1.3 การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Measurement of Central Tendency) วิธีการวัดมี 3 วิธีคือ
                                 - ค่า X หรือ mean  หรือ มัชฌิมเลขคณิต
                                 - ค่า median หรือค่า มัธยฐาน เรียงจากน้อยไปหามาก
                                 - ค่า MODE หรือค่า ฐานนิยม คือค่าที่มีความถี่มากที่สุด
2.   สถิติเชิงวิเคราะห์ (Inferential Statistics)
               หมายถึง  การวิเคราะห์ความน่าจะเป็นเกี่ยวกับผู้วิจัยคาดคิดเอาไว้ตามสมมุติฐานมี  3 วิธี คือ
               2.1   ทดสอบด้วยไคสแควร์ (Chi-square test) เหมาะกับมาตรวัดเป็นกลุ่ม
                   2.1.1 ทดสอบตัวแปรเดียว (หาความแตกต่าง)
                  2.1.2  ทดสอบสองตัวแปร (หาค่าความสัมพันธ์)
               2.2   ทดสอบด้วยสถิติ T หรือ T-test (ใช้ทดสอบระดับช่วงและอัตราส่วน) และทดสอบ 2 กรณี คือ ตัวแปรเดียว และ 2 ตัวแปร
               2.3   การวิเคราะห์ความแปรปรวน Analysis of Variance  ใช้ F-test or Anova ใช้ทดสอบตัวแปรตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป  (ระดับช่วงและอัตราส่วน)

การตีความ การสรุปผล การอภิปรายผล และการให้ข้อเสนอแนะ
1.   การตีความผลการวิเคราะห์
               1.1   การตีผลจากค่าร้อยละ – ให้แปรผลจากที่มีค่ามากไปหาที่มีค่าน้อย หรือถ้ามีแค่ 2-3 ข้อ ก็ควรแปลทั้งหมด
               1.2   การตีผลจากค่ากลาง  -  X , SD  โดยอธิบายค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ถ้า SD มากกว่า 1 คือการกระจายของข้อมูลมาก ถ้าเข้าใกล้ 0  มีความเห็นใกล้เคียงกัน
               1.3   การตีความจาก T-test เป็นการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของข้อมูลสองกลุ่มว่าแตกต่างกันหรือไม่
               1.4   การตีความจาก Anova ค่า F – คือการเปรียบเทียบ 3 กลุ่มขึ้นไป
               1.5   การตีความสรุปจากข้อเสนอแนะ คำถามปลายเปิด – โดยการจัดเรียงความคิดเห็นที่คล้ายกันเข้าด้วยกันแล้วหาค่าความถี่จากมากไปน้อย 
2.   การสรุปผลการวิจัย  การสรุปผลการวิจัยให้ชัดเจนต้อง
               2.1   ตอบคำถามหรือปัญหาวิจัยให้ชัดเจนตามวัตถุประสงค์
               2.2   ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตการวิจัยที่กำหนดไว้
               2.3   ต้องตรงตามข้อเท็จจริงของข้อมูลที่ได้
               2.4   ต้องขจัดความลำเอียงส่วนตัวออกไปให้หมด
               2.5   ต้องเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้หรือการทำวิจัยเพิ่มเติม
3.   การอภิปรายผลการวิจัย  คือนำผลการวิจัยที่ได้หรือสิ่งที่ค้นพบมาเปรียบเทียบกับสิ่งต่อไปนี้
               3.1   อภิปรายผลเพื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยว่าสอดคล้องกันหรือไม่  ถ้าผลการวิจัยไม่สอดคล้องก็ให้อภิปรายถึงสาเหตุหรือเงื่อนไข และเงื่อนไขใหม่ที่สอดคล้องกัน
               3.2   อภิปรายผลเพื่อเปรียบเทียบกับสมมุติฐานการวิจัย ว่าสอดคล้องหรือไม่
               3.3   อภิปรายผลเพื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ว่าสอดคล้องและไม่สอดคล้องอย่างไรบ้าง ของใครบ้าง เหตุใดจึงไม่สอดคล้องกัน
 4.   ข้อเสนอแนะการวิจัย ต้องเป็นของเราเอง ถ้าเป็นของผู้ตอบคำถามต้องอยู่ท้ายผลการวิจัย ต้องทำการเสนอแนะดังต่อไปนี้
               4.1   ข้อจำกัดของการวิจัยในครั้งนี้ – ปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดในการวิจัยในครั้งนี้  เช่น งบประมาณ เวลา การจัดเก็บข้อมูล
               4.2   ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง หรือปรับไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวด้านใดบ้าง
               4.3   ในการทำวิจัยครั้งต่อไป  - ชี้แนวทางให้ผู้อ่านผลงานวิจัยต้องทำการวิจัยเพิ่มเติม
การเขียนโครงร่างการวิจัยและการดำเนินงานภาคสนาม
               1.   การเขียนโครงร่างการวิจัย (ภาษาที่ใช้ ความสั้นยาว ใช้ปัญหาการวิจัยเป็นจุดศูนย์รวมการวิจัยทั้งหมด )
               2.   การดำเนินงานภาคสนาม
                  2.1   การจัดทำตัวแปร / สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
                  2.2   การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
                  2.3   เก็บรวบรวมข้อมูลทางการท่องเที่ยว
                  2.4   การวิเคราะห์ข้อมูลทางการท่องเที่ยว
                  2.5   สรุป/อภิปรายผล
                  2.6   การเขียน/นำเสนอรายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น