วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ยุทธศาสตร์ประเทศไทย


ยุทธศาสตร์ประเทศไทย
ภาณุวัฒน์   ยาวศิริ
Johnny_kbv@hotmail.com
               ประเทศไทยในอนาคตที่เราต้องการให้เป็น เป็นประเทศในโลกที่ 1 ในปี 2575  โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญ คือ ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน  เป็นการพัฒนาที่มีความสมดุล เป็นประเทศที่มีรายได้สูงและขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม  นั่นคือแนวคิดที่ได้รับฟังจากการปาฐกถาของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา การรวมตัวทางเศรษฐกิจของ New  USA (United state of Asia) จะเป็นเขตเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง  อย่างน้อยในเวลานี้ก็มีกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว
               ในชุมชนภิวัฒน์ (Localization) เราได้แบ่งโลกออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา กลุ่มประเทศกำลังล้มเหลวและกลุ่มประเทศล้มเหลว  ไม่มีแล้วประเทศด้อยพัฒนา กลุ่มประเทศที่ล้มเหลวเพราะมีที่มาจากรัฐล้มเลว (Fail State)  เกิดจากรัฐบาลที่ไม่มีคุณภาพทางการเมือง ไม่สามารถนำพาประเทศพัฒนาไปได้ จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้
               ความมั่งคั่งของประเทศชาติเกิดจาก การพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการนำเข้า การส่งออกสินค้า (Global Logistic)   เพื่อให้ประเทศก้าวพ้นกับดักของประเทศกำลังพัฒนา (Middle income trap) ซึ่งประเทศไทยต้องเจออยู่ในขณะนี้ ปี 2558 ประเทศไทยมีรายได้ต่อหัวประมาณ 5400 เหรียญสหรัฐ   ก้าวสู่เป้าหมายของโลกที่ 1 ในปี 2575 ต้องมีรายได้ต่อหัวประมาณ  15,000 – 20,000 บาท  ส่งเสริมให้ประเทศเป็นตลาดทุนของโลก  (Capital Market)  เป็นตลาดเงินที่เป็นแหล่งกลางเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างผู้ให้กู้และผู้ลงทุนเพื่อนำไปใช้ในการลงทุนในกิจการหรือขยายกิจการ โดยมีความสำคัญ คือ เป็นแหล่งระดมเงินที่สำคัญ แหล่งสะสมทุน เป็นประเทศที่สามารถระดมทุนได้อย่างรวดเร็วและเพียงพอกับความต้องการ   
               สถาบันการศึกษาชั้นสูงของโลก  (ต้องติดอันดับโลก) แนวคิดการเป็นประเทศที่มีสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก  โดยมีแนวทางพัฒนาต่อยอดสถาบันการศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งทางด้านผู้สอน เทคโนโลยี ผู้เรียน สนับสนุนการวิจัยให้เป็นที่ยอมรับ สามารถเข้าถึงการศึกษาต่อได้หลายช่องทาง เป็นการศึกษาตลอดชีวิต
               การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy) โดยเศรษฐกิจท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีขนาดเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น มีการกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น ต้องกำหนดขอบเขตพื้นที่ของเศรษฐกิจท้องถิ่นในระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศเพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
               การเสริมสร้างพลังทางสังคม (Social Empowerment)  เพื่อให้สังคมไทยได้พ้นความเหลื่อมล้ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  อำนาจของนายทุน ความเหลื่อมล้ำเรื่องรายได้  ความเหลื่อมล้ำของรัฐเชิงนโยบาย ให้พลังทางสังคมมีความแข็งแกร่งและสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง 
               สิ่งแวดล้อม (Environment) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกทำให้โลกร้อนขึ้น เกิดภาวะเรือนกระจก ประเทศเราต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สินค้า การผลิตทุกอย่างต้องมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ประเทศเป็น Green Country  การก่อสร้างทุกชนิดต้องผ่านการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม ( EIA- Environment Impact Assessment)
               แนวทางการพัฒนาประเทศไทย ต้องการให้ประเทศเป็นโลกที่พัฒนาแล้วในปี 2575 (อีกประมาณ 16 ปี)และก้าวให้พ้นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง การพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน โดยการพัฒนาด้านเศรษฐกิจให้เป็นตลาดทุนของโลก การส่งออก-นำเข้าสินค้า ส่งเสริมด้านการศึกษา พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น เสริมสร้างพลังทางสังคมและดูแลสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยก็สามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายได้

1 ความคิดเห็น: